วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2552

วันที่ ๖ – ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ ณ วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ปัญญาของแผ่นดิน

โครงการประชุมนานาชาติ

เฉลิมฉลอง ๔๐ ปีแห่งการได้รับพระราชทานนามมหาวิทยาลัย

เรื่อง พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์แห่งจิต : พุทธปัญญากับความรู้สมัยใหม่

ณ วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๖ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒

------------

หลักการและเหตุผล

. มหาวิทยาลัยมหิดลมีประวัติศาสตร์ยาวนานไม่น้อยกว่า ๑๒๐ ปี มีพัฒนาการมาจากศิริ

ราชพยาบาล โรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศ ที่สร้างขึ้นในปี พ.. ๒๔๓๑ และมหาวิทยาลัยแพทย์

ศาสตร์ในเวลา ๕๐ ปีต่อมา ใน พ.. ๒๕๑๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทาน

พระนามของสมเด็จพระราชบิดาให้เป็นชื่อใหม่ของมหาวิทยาลัยนี้ ตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันนี้เป็นเวลา

๔๐ ปีที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการสอน การวิจัยและการให้บริการ

พร้อมทั้งได้ขยายสาขาวิชาออกไปให้กว้างและหลากหลายมากขึ้น

. การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมงคลนี้และเป็นการสืบต่อจากการ

ประชุมครั้งแรกในหัวข้อ พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ ที่จัดขึ้นใน พ.. ๒๕๕๐ การประชุมครั้งที่สองนี้

เน้นที่วิทยาศาสตร์แห่งจิต (Mind Sciences) โดยเฉพาะจิตวิทยาคลีนิค (Clinical Psychology) และ

จิตเวชศาสตร์ (Psychiatry) ในเรื่องของสุขภาพจิต คำสอนและการปฏิบัติในพุทธศาสนามุ่งที่การ

ป้องกันจิตใจไม่ให้มีความทุกข์ และการเยียวยารักษาจิตใจที่เจ็บป่วยให้คืนกลับสภาพปกติ ในนัยนี้

พุทธศาสนาและศาสตร์ทั้งสองจึงมีเป้าหมายร่วมกัน แต่แตกต่างกันในเรื่องวิธีการเยียวยารักษาตาม

ธรรมชาติของศาสตร์และต้นกำเนิดของความผิดปกติทางจิต ด้วยเหตุนี้การบูรณาการพุทธศาสนาและ

ศาสตร์ทั้งสองเข้าด้วยกันจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้และควรจะทำเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย ในส่วนของ

จิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลีนิค การนำคำสอนและการปฏิบัติในพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ร่วมกับ

วิธีการจิตบำบัดในศาสตร์ของตนจะช่วยให้บุคคลเหล่านี้สามารถเยียวยารักษาจิตใจผู้ป่วยให้คืนสู่

สภาพปกติได้มากและเร็วขึ้น ในขณะเดียวกันความรู้จากการค้นพบใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะ

เป็นในสาขาจิตวิทยาหรือประสาทวิทยา และแม้แต่ในพันธุกรรมศาสตร์จะช่วยขยายความรู้ความ

เข้าใจของพุทธศาสนิกชนในเรื่องธรรมชาติของจิตใจ สาเหตุและลักษณะความผิดปกติได้กว้างและ

ลึกซึ้งขึ้น และมีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม

วิทยากรประกอบด้วยนักวิชาการพุทธศาสนา นักปฏิบัติธรรม จิตแพทย์ และนักจิตวิทยา

คลีนิค แต่ละคนเป็นเอกในศาสตร์ของตน มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ และงานที่ทำมีผลกระทบทั้งในวง

วิชาการที่เกี่ยวข้องและในสังคมโดยรวม เช่น ดร.อลัน วอลเลช (Alan Wallace) แห่งสถาบันศึกษา

เรื่องจิต เมืองซานตา บาร์บารา ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้มีประสบการณ์ยาวนานในด้านการวิจัย การ

สอนธรรมและการปฏิบัติสมาธิแก่ศาสนิกชนศาสนาต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น

เพื่อช่วยเหลือให้บุคคลเหล่านี้สามารถเติมเต็มชีวิตและมีความสุขที่สูงส่งในสังคมยุคบริโภคนิยม

ศาสตราจารย์ ดร.เวสนา วอลเลช (Vesna Wallace) แห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ผู้เชี่ยวชาญทาง

คัมภีร์พุทธศาสนาและเป็นผู้บุกเบิกเรื่องการศึกษาพุทธศาสนาในบริบททางสังคม วัฒนธรรม

เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศมองโกเลีย ศาสตราจารย์ ดร.จอห์น ทีสเดล (John Teasdale)

แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาการรู้การเข้าใจ (Cognitive Psychology) ผู้

บุกเบิกในการนำการเจริญสติไปผสมผสานกับความรู้ทางจิตวิทยาแขนงนี้ เพื่อบำบัดรักษาโรคซึมเศร้า

ในสหราชอาณาจักร และผู้ก่อตั้งศูนย์จิตบำบัดที่ใช้การเจริญสติเป็นพื้นฐาน ดร.ลิเดีย ไซโลวส์กะ

(Lidia Zylowaka) จิตแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (ลอส เอลเจลิส) ผู้นำการเจริญสติไป

ประยุกต์ใช้รักษาผู้ป่วยจิตไม่ปกติที่โรงพยาบาลในนครลอสเอลเจลิส ดร.ชาร์ล ไรสัน (Charles

Raison) จิตแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยอีมอรี่ (Emory) ผู้ได้วิจัยเกี่ยวกับการนำเมตตาภาวนาไปสร้าง

สุขภาพจิตให้แก่ผู้ป่วยไว้จำนวนมากและตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการทางจิตเวช การนำเสนอของ

วิทยากรเหล่านี้ทั้งหมดใช้ข้อมูลจากประสบการณ์ของแต่ละคนเป็นสำคัญ ไม่ใช่จากตำราหรือหนังสือ

ต่างๆ การนำเสนอเช่นนี้เท่ากับเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า คำสอนและการปฏิบัติในพุทธศาสนามี

ลักษณะเป็นอกาลิโกหรือพิสูจน์ทดลองได้ด้วยประสบการณ์ของคนแต่ละคน

วัตถุประสงค์

. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมทั่วไปมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

แห่งจิต และความจำเป็นที่จะบูรณาการความรู้ทางพุทธศาสนาเข้ากับความรู้สมัยใหม่ทางจิตวิทยา

เพื่อประโยชน์ของการแก้ปัญหาทางสุขภาพจิต

. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นชาวพุทธได้เรียนรู้วิธีการทางจิตวิทยาในเรื่องการสร้าง

สุขภาพจิตและการรักษาความผิดปกติทางจิต

. เพื่อให้ผู้ประชุมที่เป็นจิตแพทย์และนักจิตบำบัดได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทั้งแก่

วิชาชีพของตนและแก่ผู้ป่วยจากการบูรณาการพุทธศาสนาเข้ากับความรู้สมัยใหม่ในการเยียวยารักษา

จิตใจที่เจ็บป่วยให้กลับคืนสู่สภาวะปกติสุข

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

. ผู้เข้าประชุมมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์แห่งจิต โดยเฉพาะ

จิตวิทยาคลีนิคและจิตเวชศาสตร์ พร้อมทั้งตระหนักถึงความจำเป็นที่จะบูรณาการความรู้จากทั้งสอง

ฝ่ายเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเยียวยารักษาจิตใจ

. พุทธศาสนสิกชนที่เข้าประชุมได้เรียนรู้วิชาการทางวิทยาศาสตร์ในการเสริมสร้าง

สุขภาพจิต และได้ขยายความรู้ความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของจิตใจ สาเหตุและลักษณะของความ

ผิดปกติทางจิตให้กว้างและลึกซึ้งขึ้น และมีดัชนีชี้วัดที่เป็นรูปธรรม

. ผู้เข้าประชุมที่เป็นจิตแพทย์ นักจิตบำบัด และนักจิตวิทยาสาขาต่างๆ มองเห็นคุณค่าของ

คำสอนและการปฏิบัติในพุทธศาสนาที่จะช่วยเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ให้สมบูรณ์และเป็น

ประโยชน์มากขึ้น

ผู้เข้าประชุม

ประกอบด้วยนักวิชาการพุทธศาสนา นักปฏิบัติธรรม ทั้งคนไทยและต่างชาติ จิตแพทย์ นักจิต

บำบัด นักจิตวิทยาและพุทธศาสนิกชนทั่วไปทั้งพระสงฆ์และฆราวาส จำนวน ๓๐๐ คน

โครงสร้างการประชุม

การประชุมแบ่งออกเป็น ๖ ตอนด้วยกัน ตอนแรกเป็นการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับความจำเป็น

ของการบูรณาการความรู้ในศาสนาพุทธและการค้นพบในวิทยาศาสตร์แห่งจิตเข้าด้วยกัน ตอนที่สอง

เป็นการอธิบายแนวทางการศึกษาเรื่องสุขภาพจิตและความผิดปกติทางจิตในวิทยาศาสตร์และพุทธ

ศาสนา ตอนที่สามเป็นเรื่องการนำเสนอภาพรวมของปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตของคนในสังคมยุค

บริโภคนิยม โดยใช้สังคมอเมริกันและสังคมไทยเป็นตัวอย่าง ตอนที่สี่เป็นการนำเสนอกรณีศึกษาของ

การนำการเจริญสติไปผสมผสานกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการรักษาโรคซึมเศร้า โรคจิตกังวล โรค

สมาธิสั้น และโรคออทิสติก ตอนที่ห้าเป็นการนำเสนอการนำเมตตาภาวนาไปใช้สร้างสุขภาพจิต และ

ตอนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์แนวโน้มของการบูรณาการพุทธศาสนาเข้ากับจิตวิทยาคลีนิคเพื่อ

ประโยชน์ของการเยียวยารักษาจิตใจ

ปัญญาของแผ่นดิน

ตารางการประชุมโครงการประชุมนานาชาติ

เฉลิมฉลอง ๔๐ ปีแห่งการได้รับพระราชทานนามมหาวิทยาลัย

เรื่อง พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์แห่งจิต : พุทธปัญญากับความรู้สมัยใหม่

ณ วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ ๖ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒

------------

วันพฤหัสบดีที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๒

๐๘.๐๐ ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน

๐๙.๐๐ ๐๙.๓๐ น. พิธีเปิดการประชุม

๐๙.๐๐ ๑๐.๓๐ น. บรรยายพิเศษเรื่อง พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์แห่งจิต: เผชิญหน้ากันและร่วมมือกัน

วิทยากร: ดร.อลัน วอลเลช สถาบันการศึกษาเรื่องจิต ซานตาบาร์บาร่า แคลิฟอร์เนีย

๑๐.๓๐ ๑๐.๔๕ น. พัก

๑๐.๔๕ ๑๑.๔๕ น. ภาพรวมของสุขภาพจิตและความเจ็บป่วยทางจิตในสังคมอเมริกัน

วิทยากร: ดร.มาการ์เร็ท เคเมนี่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียร์ (ซานฟานซิสโก)

๑๑.๔๕ ๑๒.๐๐ น. ซักถาม

๑๒.๐๐ ๑๓.๐๐ น. อาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ ๑๔.๐๐ น. ภาพรวมของสุขภาพจิตและความเจ็บป่วยทางจิตในสังคมไทย

วิทยากร: ศาสตราจารย์ น..จำลอง ดิษยวณิช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

๑๔.๐๐ ๑๔.๑๕ น. ซักถาม

๑๔.๑๕ ๑๕.๑๕ น. แนวการศึกษาเรื่องสุขภาพจิตและความเจ็บป่วยทางจิตในพุทธศาสนา

วิทยากร: ศาสตราจารย์ ดร.เวสนา วอลเลช มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด

๑๕.๑๕ ๑๕.๓๐ น. ซักถาม

๑๕.๓๐ ๑๖.๓๐ น. จิตบำบัดโดยใช้การเจริญสติเป็นฐาน: กรณีศึกษาโรคซึมเศร้าและความวิตกกังวล

วิทยากร: ศาสตราจารย์ ดร.จอห์น ทีสเดล มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

๑๖.๓๐ ๑๖.๔๕ น. ซักถาม

วันศุกร์ที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒

๐๙.๐๐ ๑๐.๐๐ น. จิตบำบัดโดยใช้การเจริญสติเป็นฐาน: กรณีศึกษาโรคสมาธิสั้นและโรคออทีสติค

วิทยากร: ดร.ลิเดีย ไซโลวส์กะ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (ลอสแองเจลิส)

๑๐.๐๐ ๑๐.๑๕ น. ซักถาม

๑๐.๑๕ ๑๑.๓๐ น. จิตบำบัดและการสร้างสุขภาพจิตด้วยเมตตาภาวนา

วิทยากร: ศาสตราจารย์ ดร.ชาร์ลส์ไรสัน มหาวิทยาลัยอีมอรี่

๑๑.๓๐ ๑๑.๔๕ น. ซักถาม

๑๑.๔๕ ๑๓.๐๐ น. อาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ ๑๔.๐๐ น. สรุปการเจริญสติและจิตบำบัดในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

วิทยากร: มัลคอล์ม อีสเตอร์ นักจิตบำบัด ออสเตรเลีย

๑๔.๐๐ ๑๔.๑๕ น. ซักถาม

๑๔.๔๕ ๑๕.๐๐ น. สรุปและปิดการประชุม โดย ดร.พินิจ รัตนกุล วิทยาลัยศาสนศึกษา

____________________

The International Conference on

Buddhism and Mind Sciences: Ancient Wisdom and Modern Knowledge

6-7 August 2009

Name.......................................................................................

Title.........................................................................................

Organization/Company........................................................

.........................................................................

Address ................................................................................

.........................................................................

City ...................................... State .......................................

......................................Country ...........................................

Zip Code ...................................................

Phone (................) ........................................

Fax (.................) .......................................

Email ........................................................

I can attend on Aug. 6 ..........................................................

Aug. 7 ..................................

I plan to arrive by August ……. 2009 and leave by August ……… 2009

SPECIAL ACCOMODATION REQUEST. Please tick appropriate box and underline the suitable type of the

room below:

o Single/double room hotel (aircon) on campus (US $ 40) per day (breakfast included)

o Single/double room hotel (aircon) outside (US $ 50) per day (breakfast included)

o College dormitory single room (no aircon) (US $ 30) per day (breakfast at conference)

Check In:

Check Out:

Early reservation by yourselves recommended (as vacancy is limited). The College will arrange accommodation

only for participants staying at the College dormitory. Transport from the dormitory to the conference will be

provided.

Salaya Pavilion hotel on campus, Phone: (66-2) 441 0568-9 Ext. 2627

E-mail: icarisa@mahidol.ac.th

Please send the registration form by 7 July 2009 to: crsconference2008@gmail.com and crwww@mahidol.ac.th

Further useful contacts:

The office of the College of Religious Studies, Phone: (66-2) 800- 2630-9

Fax: (66-2) 800- 2659

The College dormitory Phone: (66-2) 482- 1921-4


Windows Live™ SkyDrive™: Get 25 GB of free online storage. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/