วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ด้วยสมองและสองมือ : อุปกรณ์ช่วยผ่าตัดโรคมือชา สิ่งประดิษฐ์ช่วยชาติ ฝีมือ ม.อ.

ด้วยสมองและสองมือ : อุปกรณ์ช่วยผ่าตัดโรคมือชา สิ่งประดิษฐ์ช่วยชาติ ฝีมือ ม.อ.
ข่าววันที่ 4 พฤษภาคม 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

            อุปกรณ์ช่วยผ่าตัดโรคมือชา สิ่งประดิษฐ์ช่วยชาติ ฝีมือ ม.อ.

               

                คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ยกย่องสิ่งประดิษฐ์ชิ้นใหม่ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) "อุปกรณ์ช่วยถ่างและส่องมองเนื้อเยื่อภายใน สำหรับช่วยผ่าตัดรักษาโรคมือชา" (PSU Carpal Tunnel Retractor) ขึ้นทำเนียบสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี 2552

                โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้ต้องเรียกว่า "จิ๋วแต่แจ๋ว" เพราะนอกจากรูปทรงเล็กกระทัดรัดแล้วประสิทธิภาพยังสูงด้วย ผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.หัวหน้าทีมนักประดิษฐ์ เผยว่า           

"ประเด็นสำคัญคือต้องการอุปกรณ์ที่ช่วยให้การผ่าตัดรักษาเลาะพังผืดรัดข้อมือ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำเกิดโรคมือชาได้ง่ายขึ้น แผลผ่าตัดต้องมีขนาดเล็ก และหลีกเลี่ยงการใช้ยาสลบ โดยอุปกรณ์นี้จะช่วยถ่างและส่องมองเนื้อเยื่อภายในขณะผ่าตัด และใช้เวลาเพียง 8-15 นาทีต่อราย ทั้งนี้แผลผ่าตัดยังมีขนาดเล็กเพียง 1.5-1.8 เซนติเมตร ผู้ป่วยเจ็บแผลน้อยไม่มีภาวะแทรกซ้อน อาการชาดีขึ้นใน 1-2 วัน"

                ผศ.นพ.สุนทร ยังบอกว่า อุปกรณ์ใหม่นี้ใช้ดีกว่าการผ่าตัดแบบเก่า ลดการใช้ทรัพยากรและบุคลากรทางการแพทย์ คือไม่ต้องใช้ทีมผู้ช่วยในการผ่าตัด ไม่ต้องใช้ทีมวิสัญญีแพทย์ในการดมยาสลบ และประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วย มากกว่าวิธีผ่าตัดแบบเดิมที่ต้องผ่าตัดแบบส่องกล้อง

                ...เหนือกว่านั้น อุปกรณ์ผ่าตัดโรคมือชาแบบใหม่นี้ ผลิตด้วยวัสดุในต่างประเทศ ทำจากสแตนเลส ที่มีความทนทานมิหนำซ้ำต้นทุนผลิตต่ำราคาประมาณ 3,000 บาทต่อชิ้น และได้รับการจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว        

               

**                **                **                **                **

                รู้ไว้ใช่ว่าโรคพังผืดรัดเส้นประสาทข้อมือ พบมากในเพศหญิงช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะผู้ที่เคยมีบุตร และมีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ โรคไทรอยด์เป็นพิษ ลักษณะอาการบ่งชี้ คืออาการชาที่มือ นิ้ว และปลายนิ้วมือช่วงเวลากลางคืนหรือเช้าตรู่ ผู้ที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการชาตลอดเวลา หากอ่อนแรงที่มือมากขึ้น แสดงว่าเส้นประสาทถูกกดทับมากและอาจสูญเสียการทำงานของเส้นประสาทอย่างถาวร

                การรักษาเบื้องต้นจะใช้ยา การบริหารข้อมือ แช่ในน้ำอุ่น ใส่เครื่องช่วยพยุงมือ หากขั้นร้ายแรงคือต้องผ่าตัดเลาะพังผืดที่รัดแน่นออก ซึ่งวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันใช้วิธีส่องกล้อง และต้องพักฟื้นนานถึง 2 สัปดาห์

                ------------------------------------------------------------

 

                บรรยายภาพ

                ภาพ 1 แบบจำลองการผ่าตัดด้วยอุปกรณ์แบบใหม่       

 
  รูปประกอบข่าว
http://www.siamrath.co.th/uifont/NewsDetail.aspx?cid=56&nid=37424
 


Hotmail® has ever-growing storage! Don't worry about storage limits. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/