วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เทอร์โมสแกนเนอร์ คอลัมน์ คอลัมน์ที่13

วันที่ 02 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6729 ข่าวสดรายวัน


เทอร์โมสแกนเนอร์


คอลัมน์ คอลัมน์ที่13



สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่ระบาดในเม็กซิโก ยังสร้างความกังวลให้แก่ประชาชนทั่วทุกประเทศ

เพราะดูทีท่าว่าการระบาดอาจจะมาถึงประเทศตนได้ใน เร็ววัน

ล่าสุดองค์การอนามัยโลกประกาศยกระดับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจากระดับ 4 ซึ่งหมายถึงมีการติดต่อจากคนสู่คนอย่างต่อเนื่อง

อันเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ หากสามารถยับยั้งโรคไว้ได้ก็จะไม่สร้างปัญหาให้กับนานาชาติ

ขึ้นมาเป็นระดับ 5 จะหมายถึงการระบาดข้ามทวีป และจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก

ดังนั้น ประเทศต่างๆจะต้องให้การสนับสนุนในการป้องกัน เชื้อไม่ให้มีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น

การเดินทางเข้า-ออกระหว่างประเทศ จึงเป็นปราการด่านสำคัญที่สุดที่จะสามารถยับยั้งการระบาดของโรคครั้งนี้ได้

เครื่องเทอร์โมสแกนเป็นมาตรการหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาใช้ในการป้องกัน และคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากนานาประเทศ เพื่อจะได้สกัดและยับยั้งโรคได้อย่างทันการณ์

เครื่องมือดังกล่าวถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายหลังจากเกิดการระบาดของโรคซาร์สเมื่อปี พ.ศ.2546

เนื่องจากทำให้ช่วยคัดกรองผู้ต้องสงสัยที่มีอาการป่วยไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายลิลิต ศิริทรัพย์จนันท์ เจ้าพนักงานสาธารณสุขประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อธิบายถึงการทำงานของเครื่องเทอร์โมสแกน ว่าเครื่องดังกล่าว มีอุปกรณ์หลัก 2 ชิ้นคือ

1.กล้องถ่ายภาพรังสีความร้อน (อินฟราเรด) ซึ่งเป็นกล้องสำหรับตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายแบบไม่สัมผัส โดยสามารถจับภาพได้ทีละหลายๆ คนพร้อมกัน

หากบุคคลใดมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าที่กำหนด ซึ่งโดยทั่วไป จะตั้งค่าไว้ที่อุณหภูมิปกติร่างกาย 36 องศาเซลเซียส เครื่องจะส่งสัญญาณเตือนทันที

2.จอแสดงผล เพื่อประมวลผลความร้อนที่ตรวจจับได้จากคนที่เดินผ่านกล้อง

โดยหน้าจอจะบ่งบอกอุณหภูมิปกติของคนทั่วไป และอุณห ภูมิความร้อนของคนที่เดินผ่านกล้อง

หากมีความร้อนมากกว่าปกติจะแสดงสีแดงที่ตัวบุคคลนั้นๆ

เมื่อพบว่าผู้โดยสารมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เจ้าหน้าที่จะเชิญมาสอบถามและให้ทดสอบใหม่อีกครั้ง

หากยังมีอุณหภูมิสูง จะตรวจสอบซ้ำด้วยเครื่องเอียร์เทอร์ โมมิเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายจากช่องหู

ก่อนจะซักประวัติอย่างละเอียด ทั้งประวัติการป่วย การเดินทาง

เมื่อพบว่ามีอาการป่วยต้องทำตามกฎการควบคุมโรค โดยกักตัวไว้สังเกตอาการ หรือแยกตัวไว้เพื่อเฝ้าระวัง

ทั้งนี้ แม้จะมีการตรวจอย่างละเอียด แต่หากร่างกายได้รับเชื้อที่ยังอยู่ในระยะฟักตัว ยังไม่แสดงอาการ และอุณหภูมิร่าง กายยังไม่เปลี่ยนแปลง

ก็จะไม่สามารถตรวจจับได้

กระทรวงสาธารณสุขจึงใช้มาตรการควบคู่กันไปคือ การแจกเอกสารเฝ้าระวังโรค ให้แก่ผู้โดยสารที่เดินทางเข้าประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เกิดการระบาดของโรคอยู่

เมื่อพบว่ามีอาการป่วยเกิดขึ้น จำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์หรือทำตามเอกสารแนะนำ เพื่อเข้ากระบวนการเฝ้าระวังโรค

เป็นการล้อมคอกก่อนวัวหาย

หน้า 2

http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dPREF5TURVMU1nPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBd09TMHdOUzB3TWc9PQ==

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/