วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สศก.ร่วมกับ GTZ เยอรมนี สร้างมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันเพื่อพลังงานอย่างยั่งยืน

สศก.ร่วมกับ GTZ เยอรมนี สร้างมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันเพื่อพลังงานอย่างยั่งยืน


  จากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นานาประเทศทั่วโลกหันมาให้ความสนใจกับการใช้พลังงานทดแทนเชื้อเพลิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้น้ำมันไบโอดีเซลแทนน้ำมันดีเซล  น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบที่มีราคาต่ำสุดในการนำมาใช้ผลิตไบโอดีเซล เมื่อเทียบกับน้ำมันพืช เช่น ถั่วเหลือง ทานตะวัน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตปาล์มน้ำมัน จึงได้มีการขยายพื้นที่ปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย ซึ่งปลูกปาล์มน้ำมันเป็นอันดับ 3 ของโลก

     นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องการน้ำมันปาล์มในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินโดนิเซีย ที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันมากเป็นอันดับ 1 ของโลก  ส่งผลให้กลุ่มอนุรักษนิยมในทวีปยุโรปต่อต้านการใช้น้ำมันปาล์มเพื่อพลังงาน เพราะเห็นว่าเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงมีกลุ่มผู้ใช้น้ำมันและผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปาล์มยุโรป องค์การพัฒนาเอกชน กลุ่มสมาคมการค้าและการธนาคาร ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมที่ไม่แสวงหากำไร ชื่อ  Roundtable on Sustationable Palm Oil หรือ RSPO เพื่อร่วมกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 340 คน ซึ่งมีบริษัทเอกชนของไทยเข้าเป็นสมาชิกจำนวน 10 บริษัทอย่างไรก็ตาม ถึงแม้การปลูกปาล์มน้ำมันของไทยจะแตกต่างจากประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ในด้านไม่มีการบุกรุกพื้นที่ป่าและทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาปลูกปาล์มน้ำมัน ทำให้ได้เปรียบประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกก็จริง แต่ด้วยเพราะส่วนใหญ่การปลูกปาล์มน้ำมันของไทยเป็นเกษตรกรรายย่อย จึงมีปัญหาด้านการจัดการผลิตที่ยังคงต้องพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น  เพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันกับน้ำมันปาล์มในตลาดโลก ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันไทยไม่ใช่ผู้ส่งออกหลัก แต่ไทยก็ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิดที่มีน้ำมันปาล์มเป็นองค์ประกอบ ดังนั้น ความจำเป็นในการปฏิบัติตาม RSPO คงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

     ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรไทย ให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก จึงเกิดโครงการความร่วมมือระหว่างกระท

รวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และกระทรวงสิ่งแวดล้อมการอนุรักษ์ธรรมชาติและความปลอดภัยนิวเคลียร์ (BMU) โดยสำนักงานความร่วมมือทางวิชาการประเทศเยอรมนี (GTZ) ในการทำโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มเพื่อพลังงานอย่างยั่งยืน

     ระยะเวลาโครงการ  3 ปี จุดประสงค์หลักๆ เพื่อทำมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์ม เพื่อทำไบโอดีเซลโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เนื่องจากคนในทวีปยุโรปยังต่อต้านระบบการผลิตน้ำมันปาล์มว่าเป็นตัวทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายสัตว์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติ  แต่ด้วยความต้องการเรื่องพลังงานทดแทนก็จำเป็น จึงได้ร่วมมือกับไทยในการกำหนดมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันเพื่อพลังงานอย่างยั่งยืน เพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำมันปาล์มที่ผ่านกระบวนการผลิตโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเลย ซึ่งจะมีการร่วมกันกำหนดมาตรการในการปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น ที่ดินที่ปลูกต้องไม่ใช้สารเคมี หรือมีสารเคมีตกค้างที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

     รองเลขาฯ สศก.กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าโครงการนี้สำเร็จ นอกจากจะได้มาตรฐานในการผลิตปาล์มน้ำมันเพื่อพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืนที่นานาประเทศยอมรับแล้ว  ไทยก็หวังว่าจะได้เป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับรองมาตรฐานการผลิตปาล์มของตลาดโลกด้วย  และที่สำคัญไทยจะได้เปิดตลาดกับสหภาพยุโรป ที่มีความต้องการน้ำมันปาล์มไปผลิตเป็นพลังงานทดแทนจำนวนมาก ซึ่งจะสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดปกติไม่ต่ำกว่า 1.5%

     ขณะนี้โครงการได้ดำเนินการนำร่องแล้วที่จังหวัดกระบี่ และจะขยายผลการดำเนินการไปยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง และนครศรีธรรมราช ซึ่งนับเป็นมิติใหม่ที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรไทยให้ได้มาตรฐาน รองรับความต้องการใช้พลังงานทดแทนของตลาดโลก.

 

                                   บัณฑิต กล่อมเกลี้ยง รายงาน

                                      18bundit@gmail.com

http://www.thaipost.net/tabloid/050709/7269





Windows Live™: Keep your life in sync. Check it out.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/