วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เปิด "สูตรรบ" ในตลาดสินค้า "Commodity"



Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com


เปิด "สูตรรบ" ในตลาดสินค้า "Commodity"
 



คุณเคยสำรวจพฤติกรรมการซื้อสินค้าประเภทคอมโมดิตี้ (commodity) ของตัวเองกันบ้างหรือเปล่า




     เช่น เมื่อจะซื้อเกลือมาสักถุงคุณคิดถึงเกลืออะไร และคิดจะซื้อที่ไหน หรือจะเติมน้ำมันคิดถึงน้ำมันยี่ห้ออะไร หรือหากกระหายน้ำมองหาน้ำสักขวดคิดถึงน้ำดื่มยี่ห้ออะไร

     สินค้าคอมโมดิตี้ (commodity product) เป็นลักษณะของสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ที่ลูกค้ามองว่าไม่มีความแตกต่างของสินค้า เช่น สินค้าอุปโภคบริโภคจากธรรมชาติอย่างผักผลไม้ทั่วๆ ไป พริกไทย น้ำตาล น้ำปลา เกลือ น้ำดื่ม น้ำมันรถยนต์ ปูน ฯลฯ ซึ่งรูปแบบการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ที่พรั่งพร้อมไปด้วยเครื่องมืออัตโนมัติและระบบการสื่อสารที่ฉับไวทุกที่ทุกเวลา บวกกับวิถีชีวิตและสไตล์การใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่มีคนในรุ่นเจเนอเรชั่น X และ Y เป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนกิจกรรมทางสังคมหลักๆ 

     สิ่งเหล่านี้ต่างเป็นตัวเร่งที่ทำให้สินค้าประเภทคอมโมดิตี้มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงในทิศทางสร้างแบรนด์กันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของสินค้าทางด้านการเกษตรที่บ้านเรามีอยู่หลากหลายแต่ไม่ค่อยได้มีการนำมาสร้างแบรนด์กันมากนัก บวกกับภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยทำให้คนที่มีความรู้ความสามารถจำนวนไม่น้อยถอดใจจากการเป็นลูกจ้างแล้วกลับเข้าไปอยู่ในภาคเกษตรและสร้างธุรกิจของตัวเองกันเพิ่มมากขึ้น 

     เพราะความน่าสนใจของสินค้าประเภทคอมโมดิตี้ คือ หากได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคสินค้าจะสามารถเพิ่มราคาได้หลายเท่าตัว ดังนั้นจากเดิมที่ตำราบอกว่า ยี่ห้อไม่มีผลมากนักกับสินค้าประเภทนี้ ต่อจากนี้คงไม่ใช่แล้วหากผู้ขายสินค้าต้องการจับตลาดและตามเทรนของคนกลุ่ม X และ Y

     ดร.พัลลภา ปีติสันต์ ประธานสาขาการจัดการธุรกิจ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับสินค้าคอมโมดิตี้ ว่า ถึงแม้ตลาดนี้ยังมีพื้นที่เปิดกว้างให้ได้เข้ามาจับจองแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และที่ผ่านๆ มามีผู้ประกอบการมากมายที่เจ็บตัวจากตลาดนี้มาแล้วมากต่อมาก อย่างที่เห็นในตลาดเกี่ยวกับน้ำสมุนไพรบรรจุขวดแปะชื่อยี่ห้อที่ทำขายกันแทบจะทุกชุมชนในยุคที่โครงการสินค้า OTOP รุ่งเรือง หรือกรณีศึกษาของลูกศิษย์คนหนึ่งทำผลไม้สดพร้อมทานบรรจุถุงสุญญากาศอย่างดีติดแบรนด์ของตัวเองลงไป แล้วนำไปวางขายยังอาคารสำนักงานก็ยังต้องพับเสื่อกลับบ้านเพราะไม่ได้รับความนิยม เพราะลูกค้ายังนิยมไปซื้อจากพ่อค้าแม่ค้าผลไม้รถเข็นที่ปอกเปลือกเฉาะขายกันสดๆ มากกว่า

     และจากการได้ออกไปทำวิจัยและสำรวจข้อมูลภาพสนาม พบองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันอยู่ 3 ส่วน คือ 
     1.เรื่องของแบรนด์ 
     2.เรื่องของฟังก์ชั่นที่ลูกค้าจะนำสินค้านั้นๆ ไปใช้งาน
     3.คือเรื่องของอารมณ์ของลูกค้า 
     ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนจะต้องล้อและสอดคล้องไปด้วยกัน 

     จากการศึกษาพบว่า แบรนด์นั้นเป็นเสมือนการเติมชื่อเรียกให้กับสินค้านั้นๆ ทำให้สินค้านั้นมีชื่อขึ้นมาว่าคือใคร ส่งผลต่อความผูกพันต่อกันในระยะยาว เช่น ที่เราผูกพันกับเกลือยี่ห้อปรุงทิพย์ ทั้งๆ ที่เกลือแบรนด์อื่นที่คล้ายปรุงทิพย์ให้เลือกแบรนด์จะเป็นตัวช่วยตัวหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความคุ้นเคย 

     เรื่องของฟังก์ชั่นการใช้งานของสินค้าก็เช่นกัน ผู้ประกอบการจะต้องอ่านใจลูกค้าให้ออกว่าลูกค้าต้องการอะไรจากสินค้าของเราเพื่อที่จะได้ทำสินค้าออกมาให้ถูกแบบ ถูกใจและถูกที่ เช่น กระเทียมปอกเปลือกพร้อมใช้งานในครัวได้ทันทีในซองสุญญากาศ หรือชุดต้มยำที่ประกอบไปด้วยเครื่องต้มยำพร้อมในซอง สำหรับพ่อบ้านแม่บ้านยุคใหม่ เป็นต้น

     เรื่องอารมณ์ของลูกค้า ผู้ประกอบการจะต้องอ่านคุณค่าที่ผู้บริโภคต้องการให้ออกและถูกต้องตามกลุ่มลูกค้า เช่น สินค้าประเภทน้ำตาลทราย ที่ขายในเมืองไทยส่วนใหญ่จะเป็นน้ำตาลทรายที่มีลักษณะขาวใส เพราะคนไทยให้คุณค่าในเรื่องของความสะอาดซึ่งสีขาวเป็นตัวแทนที่สื่อถึงความสะอาด แต่น้ำตาลสีธรรมชาติคือออกมีสีน้ำตาล จะเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่นเพราะคนญี่ปุ่นให้คุณค่ากับเรื่องของความเป็นธรรมชาติไม่ปรุงแต่ง เป็นต้น

     กรณีศึกษาในฉบับถัดไป ดร.พัลลภาจะนำกรณีศึกษาการพัฒนาสินค้าคอมโมดิตี้จากที่ได้ไปทำวิจัยภาคสนามและวิธีการเข้าสู่ตลาดนี้มาเล่าให้ฟัง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการที่คิดจะลุยในตลาดนี้กันต่อไป





แหล่ง : ประชาชาติธุรกิจ (www.matichon.co.th/prachachart)
โดย : WebMaster
วันที่ : 26/6/2552
     http://www.ksmecare.com/News_Popup.aspx?ID=4924

check out the rest of the Windows Live™. More than mail–Windows Live™ goes way beyond your inbox. More than messages

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/