วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กางข้อมูลน้ำตาลขาด ปมจุกอกพาณิชย์-อุตฯ


วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7031 ข่าวสดรายวัน


กางข้อมูลน้ำตาลขาด ปมจุกอกพาณิชย์-อุตฯ


คอลัมน์ รายงานพิเศษ




นับ ตั้งแต่มีข่าวปริมาณน้ำตาลในไทยเริ่มตึงตัวและราคาแพง ส่งผลให้อาหารบางอย่างที่ต้องใช้น้ำตาลเป็นส่วนประกอบฉวยโอกาสขึ้นราคาบ้าง แล้ว

กระทรวงพาณิชย์ เริ่มตรวจสอบพบปริมาณน้ำตาลในไทยตึงตัวมาตั้งแต่ช่วงปีใหม่ หลัง ราคาน้ำตาลตลาดโลกปรับสูงขึ้นถึง 23-24 บาท/ก.ก. จากก่อนหน้าอยู่ในระดับ 15-18 บาท/ก.ก.

นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ระบุว่า จากการตรวจสอบของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศพบว่าใน 10 จังหวัดหาซื้อยากและมีราคาแพงกว่าราคาควบคุม และอีก 35 จังหวัดขายน้ำตาลทรายเกินราคาควบคุม บางจังหวัดสูงถึง 26-27 บาท/ก.ก. จากราคาควบคุม 23.50 บาท/ก.ก.

สาเหตุสำคัญน่าจะมาจากผู้ผลิตอาหาร และเครื่องดื่มเพื่อการส่งออกที่ขอใช้น้ำตาลโควตา ค (ส่งออก) มาแอบใช้น้ำตาลโควตา ก (จำหน่ายในประเทศ) เพราะมีราคาถูกกว่า

นอก จากนี้ยังมีการลักลอบนำน้ำตาลในไทยส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้านตาม แนวชายแดน และเกิดจากโรงงานน้ำตาลลดปริมาณการส่งน้ำตาลไปยังผู้ค้าส่ง (ยี่ปั๊ว) หากยี่ปั๊วรายใดต้องการในปริมาณปกติต้องจ่ายค่าขนส่งเพิ่มขึ้น

จาก ปัญหาดังกล่าวรมว.พาณิชย์ มอบหมายให้กรมการค้าภายในไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เพื่อขอจัดสรรน้ำตาลทรายจำนวน 4-5 แสนกระสอบ (กระสอบละ 50 ก.ก.) มาเก็บเป็นสต๊อกของรัฐบาล เพื่อสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินหรือทำเป็นน้ำตาลทรายธงฟ้าหากเกิดปัญหารุนแรง ขึ้น

หากกอน.ไม่จัดสรรให้ นางพรทิวาขู่ว่าจะหารือในระดับรัฐมนตรีกับนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม

อย่าง ไรก็ตาม ในการประชุมคณะกรรมการกอน.ที่มีนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานเมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่มีน.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าภายในเข้าร่วมประชุมด้วย ยังไม่มีข้อเสนอการขอจัดสรรน้ำตาลมาจากกระทรวงพาณิชย์

แต่ที่ประ ชุมกอน.วางแนวทางเพื่อแก้ปัญหาน้ำตาลตึงตัวไว้ ประกอบด้วย ขอความร่วมมือไปยังโรงงานน้ำตาลทั้ง 46 แห่ง ในการขายน้ำตาล ด้วยการให้รถบรรทุกที่ขนน้ำตาลเซ็นสลักหลังให้ทราบว่าจะขนน้ำตาลไปยังที่ใด เพื่อให้กระทรวงพาณิชย์ไปตรวจสอบน้ำตาลว่ามีอยู่จริงหรือไม่

และช่วงนี้จะไม่ต่ออายุการขนย้ายน้ำตาลให้จากที่มีอายุเพียง 15 วัน และสามารถต่ออายุไปได้อีก 15 วัน พร้อมเพิ่มบทลงโทษโรงงานผลิตอาหารเพื่อการส่งออก กรณีขอโควตา ค ชะลอ ยกเลิก หรือใช้ไม่ถึง 70% จะตัดสิทธิ์ใช้น้ำตาลโควตา ค เป็นเวลา 5 ปี จากเดิมตัดสิทธิ์เพียง 1 ปี

พร้อมกันนี้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและ น้ำตาลทราย (สอน.) และกรมการค้าภายในดูแลการขึ้นงวดน้ำตาลให้เป็นไปตามประกาศ และประสานไปยังตำรวจ กรมศุลกากรในการดูแลการขนย้ายน้ำตาลตามแนวชายแดน

ทั้ง 2 หน่วยงานขอเวลา 10 วัน ในการแก้ปัญหาน้ำตาล คาดว่าไม่เกินต้นเดือนมี.ค.นี้รู้ว่าขาดแคลนจริงหรือไม่



หากถามทางฝั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งจากโรงงานน้ำตาล และสอน. ยืนยันเสียงแข็งมาตลอดว่าน้ำตาลในไทยมีเพียงพอ

นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสอน. ระบุว่า กอน.มีมติให้เพิ่มปริมาณน้ำตาลโควตา ก ในปีนี้อีก 10.5% จาก 19 ล้านกระสอบ เป็น 2.1 ล้านกระสอบเพื่อให้เป็นไปตามภาวการณ์ฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ทำให้การขึ้นงวดทุกสัปดาห์เพิ่มเป็น 4.03 หมื่นตัน จากเดิม 3.65 หมื่นตัน

ขณะนี้ยังเหลือน้ำตาลที่ยังไม่ได้ขึ้นงวดอีกกว่า 1.7 ล้านตัน จึงขอให้มั่นใจว่าน้ำตาลมีเพียงพอสำหรับการบริโภคในไทยแน่นอน

ด้านนายพงศ์เทพ จารุอำพรพรรณ รองเลขาธิการสอน. กล่าวภายหลังหารือร่วมกับโรงงานผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่แจ้งขอใช้ สิทธิการซื้อน้ำตาลทรายโควตา ค (ส่งออก) พิเศษ 106 รายเมื่อวันที่ 25 ก.พ.ว่า ภายในต้นเดือนมี.ค.น่าจะประกาศ ปรับปรุงระเบียบการตัดสิทธิ์การใช้โควตาน้ำตาลได้

ผู้ประกอบการ 106 รายยื่นขอใช้โควตา ค พิเศษประมาณ 3.6 แสนตัน พบว่าขณะนี้มีจำนวน 24 รายที่ยังไม่มีการทำสัญญาซื้อขาย รวมถึงทำแล้วแต่ไม่ได้รับปริมาณน้ำตาลตามที่ขอ คงต้องติดตามเพื่อลงโทษต่อไป



นาย ประจวบ ตยาคีพิสุทธิ์ รองประธานกรรมการบริหารสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย กล่าวว่า กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่มถูกมองเป็นจำเลยของสังคมว่ากักตุนน้ำตาลทั้งๆ ที่การใช้น้ำตาลโควตา ค พิเศษ เพียง 3.6 แสนตันคิดเป็นเพียง 5% ของน้ำตาลทั้งหมด 7 ล้านตันเท่านั้น

จึงเสนอไปยังกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ ให้เรียกทุกหน่วยงานที่ผลิตและใช้น้ำตาล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับอ้อยและน้ำตาลมาหารือ เพื่อดูว่าขาดแคลนจริงหรือไม่ และเกิดจากอะไร

ไม่อยากให้ออกมากล่า วหาลอยๆ ว่าเป็น กลุ่มผู้ผลิตอาหาร เครื่องดื่ม ยืนยันว่าปัญหาขณะนี้ไม่ได้เกิดจากโรงงานเครื่องดื่มกักตุน ไม่รู้ว่าจะทำไปเพื่ออะไร อยากให้มองในภาพรวมมากกว่า

นายประกิต ประทีปะเสน ประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กล่าวปฏิเสธในเรื่องที่ถูกกล่าวหาว่าโรงงานน้ำตาลส่งสินค้าลดลงว่า น่าจะเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เพราะการจำหน่ายน้ำตาลมีกำหนดโควตาแต่ละสัปดาห์ชัดเจนว่าน้ำตาลออกจากโรงงาน สัปดาห์ละ 4.03 แสนกระสอบ (4.03 หมื่นตัน) ทุกวันจันทร์

การจ่ายน้ำตาลของโรงงานจะต้องมีตั๋วน้ำตาลจากศูนย์บริหารน้ำตาลที่สอน.ดูแล และจะมีคนจากสอน. รวมถึงชาวไร่อ้อยมาคอยควบคุมหน้าโรงงานอีกครั้ง เพราะน้ำตาลเป็นสินค้าที่ต้องเข้าระบบแบ่งปันผลประโยชน์ ชาวไร่จะได้ไป 70% ส่วนโรงงานได้ 30%

มองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ เกิดจากเมื่อผู้บริโภค และร้านค้าต้องการซื้อเพิ่มขึ้น เนื่องจากกลัวสินค้าขาดแคลน



จาก ข้อมูลทั้งหมด เมื่อมาดูเรื่องการขอจัดสรรโควตาของนางพรทิวาเพื่อไปบริหารจัดการเองนั้น จึงสร้างความหนักใจให้ข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก

เพราะขณะนี้โรงงานน้ำตาลขายน้ำตาลล่วงหน้าไปจนเกือบหมดแล้ว การจัดสรรให้กระทรวงพาณิชย์จึงเป็นสิ่งที่ยากมาก

สิ่งที่น่ากังวลคือ ราคาที่จะตัดโควตาไปนั้น ทางกระทรวงพาณิชย์ต้องการที่ราคา 15 บาท/ก.ก. ราคานี้ต่ำกว่าราคาหน้าโรงงานที่กำหนดไว้ว่าอยู่ 19-20 บาท

เงินส่วนต่าง 5 บาท/ก.ก. มีข้อกำหนดจากคณะรัฐมนตรีว่าต้องหักไปใช้หนี้ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) กู้มาเพิ่มค่าอ้อยให้กับชาวไร่และชดเชยให้กับโรงงานในช่วงที่ราคาอ้อยและ น้ำตาลตกต่ำ

ตอนนี้กท.ยังมีฐานะติดลบเกือบ 2 หมื่นล้านบาท เป็นหนี้ของธ.ก.ส.ถึง 1.6 หมื่นล้านบาท (ไม่รวมดอกเบี้ย) หนี้ค้างชำระโรงงานอีกเกือบ 3,000 ล้านบาท

ขณะที่ระบบของอ้อยและน้ำตาลไทยไม่เหมือนกับพืชเกษตรตัวอื่นๆ เพราะมีพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายในการควบคุมดูแล

กระทรวง อุตสาหกรรมมีหน้าที่ดูแลต้นทางตั้งแต่การปลูกจนถึงเข้าโรงงานน้ำตาล และจัดสรรน้ำตาลเพื่อให้ออกจากโรงงาน พร้อมทั้งประกาศราคาหน้าโรงงาน การเปลี่ยนแปลงราคาต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี

หลังออกจากโรงงานแล้วเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ในการดูแล รวมถึงดูแลราคาขายปลีก ซึ่งขณะนี้น้ำตาลเป็นสินค้าควบคุม

จึงไม่แปลกที่ต่างฝ่ายต่างโทษว่าต้นตอของน้ำตาลขาดในแต่ละครั้งนั้นเป็นความผิดของอีกฝ่าย

พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย ยังมีข้อกำหนดเรื่องของระบบโควตา น้ำตาลต้องจัดสรรตั้งแต่ต้นปี รวมถึงการกำหนดราคาอ้อยทั้งขั้นต้น และขั้นปลาย

กว่าจะได้ข้อสรุปในแต่ละเรื่อง ชาวไร่อ้อย โรงงานและฝ่ายราชการหารือกันอย่างหนัก หลายรอบ เพราะทั้งชาวไร่และโรงงานต้องการให้ผลประโยชน์ตกที่ฝ่ายของตัวเองให้มากที่ สุด

จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่อยู่ๆ กระทรวงพาณิชย์จะมาฉกโควตาน้ำตาลไปอย่างหน้าตาเฉย


หน้า 8
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOVEk0TURJMU13PT0=&sectionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE1DMHdNaTB5T0E9PQ==

--
โปรดอ่าน blog
www.pridiinstitute.com
www.nakkhaothai.com
www.pcpthai.org
http://wdpress.blog.co.uk
http://rsm2009-rsm2009.blogspot.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
www.youtube.com/user/naiissarachon#p/a/u/0/34ZvscsnCbA

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/